มิเตอร์ไฟฟ้านี้ถือเป็นสมบัติของการไฟฟ้าฯ เมื่อเรายกเลิกการใช้บริการเราก็จะได้เงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าคืน จากที่ผมเกริ่นไปในตอนต้น
ว่าค่าใช้จ่ายแปรผันตามขนาดปริมาณไฟฟ้าที่ขอใช้นั้น ผมจึงขอแนะน�ำหลักการคิดปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ต้องการใช้ภายในบ้านไว้เพื่อให้เรา
ขอปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า หรือขอขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม (การเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าเล็กเกินไปท�ำให้ไม่สามารถใช้เครื่องใช้
ไฟฟ้าภายในบ้านได้หลายๆ เครื่องพร้อมกัน แต่ถ้าเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าใหญ่เกินไปก็สูญเสียเงินไปโดยใช่เหตุ)
เริ่มจากการส�ำรวจการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของเราดูว่ามีอะไรบ้าง ให้ลองสังเกตฉลากที่ติดไว้ที่ด้านหลัง หรือข้างใต้ของ
เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น จะระบุก�ำลังไฟฟ้าที่ใช้งานมีหน่วยเป็นวัตต์ (W) เราท�ำการเก็บรวบรวมก�ำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด เพื่อจะ
น�ำมาหาปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้ โดยใช้สูตรในการค�ำนวณคือ
P = I x V (ก�ำลังไฟฟ้า(Wวัตต์) = กระแสไฟฟ้า (Ampแอมแปร์) x ความต่างศักย์(Vโวลต์))
∴ I = P/ V
เมื่อหาปริมาณกระแสไฟฟ้าทั้งหมดแล้ว ให้น�ำค่ากระแสไฟฟ้าทั้งหมดมารวมกันและคูณด้วย 1.25 เป็น Factorเผื่อเอาไว้
ผมขอยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ บ้านพักอาศัยโดยส่วนใหญ่จะใช้ไฟฟ้า 1 เฟส ผมจึงขอยกตัวอย่างประกอบเป็น
ไฟฟ้า 1 เฟสก็แล้วกันครับ
สมมุติว่าเราท�ำการส�ำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเราทั้งหมดแล้วและน�ำมาค�ำนวณแปลงจากค่าก�ำลังไฟฟ้า(W) เป็นค่ากระแสไฟฟ้า
ที่ใช้ (Amp) โดยใช้สูตรการค�ำนวณที่กล่าวไปข้างต้น ดังนี้
1) โคมไฟฟลูออเรสเซนต์ 36W 10 ชุด คิดเป็นกระแสไฟฟ้าได้ 36/220x10 = 1.64 แอมแปร์
2) โคมไฟหลอดไส้ 20W 5 ชุด 20/220x5 = 0.45 แอมแปร์
3) พัดลม 100W 4 ชุด 100/220x4 = 1.82 แอมแปร์
4) เครื่องปรับอากาศ 1,800W 2 ชุด 1,800/220x2 = 16.36 แอมแปร์
5) โทรทัศน์ 250W 1 ชุด 250/220 = 1.14 แอมแปร์
6) เครื่องเสียง 200W 1 ชุด 200/220 = 0.91 แอมแปร์
7) เครื่องซักผ้า 3,000W 1 ชุด 3,000/220 = 13.64 แอมแปร์
รวมกระแสไฟฟ้า= 1.64+0.45+1.82+16.36+1.14+0.91+13.64 = 35.96 แอมแปร์
คูณ Factor เผื่อปริมาณกระแสไฟฟ้า 25% จะได้ 35.96 x 1.25 = 44.95 แอมแปร์
จะเห็นว่าเราใช้กระแสไฟฟ้าประมาณ 44.95 แอมแปร์ ฉะนั้น ควรเลือกมิเตอร์ขนาด
30 แอมป์ก็เพียงพอเนื่องจากมิเตอร์ขนาด 30 แอมป์นั้น เผื่อค่ากระแสไฟฟ้าไว้ถึง 100 แอมป์
หรือทั่วไปเรียกว่ามิเตอร์ขนาด 30/100 แอมป์ (ดูตาราง 1-2) สังเกตว่าเราคิดโหลดไฟฟ้า
ทั้งหมดเสมือนว่าเราเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกตัวพร้อมกัน แต่สภาพการใช้งานจริงนั้น เราไม่ได้
ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกๆ ตัวพร้อมกัน ฉะนั้น ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า 30 แอมป์ ที่เราเลือกนั้น
จึงเพียงพอ ทั้งนี้เราอาจจะคิดเผื่อปริมาณเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการจะใช้งานเผื่อในอนาคต
รวมไปด้วยก็ได้ เช่น หากครอบครัวจะมีสมาชิกเพิ่มจะมีการใช้เครื่องปรับอากาศเพิ่มอีก 1
ชุด เป็นต้น ก็ให้คิดกระแสไฟฟ้าเผื่อในส่วนนี้ไปเลยจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปขอเพิ่มปริมาณ
การใช้กระแสไฟฟ้าในอนาคต (หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้านั่นล่ะ)
หลังจากอ่านบทความแล้วคุณลองไปตรวจดูขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้านคุณเองหรือยัง
ว่าเหมาะสมหรือไม่?
เลือกขนาดมิเตอร์ให้เหมาะกับบ้าน
มิเตอร์ไฟฟ้านี้ถือเป็นสมบัติของการไฟฟ้าฯ เมื่อเรายกเลิกการใช้บริการเราก็จะได้เงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าคืน จากที่ผมเกริ่นไปในตอนต้น ว่าค่าใช้จ่...
-
1. ความปลอดภัยเช่น ต้องรู้จักเลือกสายไฟฟ้าให้ถูกต้องกับชนิดของอุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องเลือกวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ หรือมีมาตรฐานอุต...
-
งานฝ้าเพดาน ช่างพงษหรือแอ๊ด 0944599677 งานรื้อฝ้าเก่าพร้อมขนวัสดุทิ้ง ตร.ม. ละ 30-40 บาท งานติดตั้งฝ้าฉาบเรียบวัสดุใหม่ทั้งหมดโครงเบ...
-
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอบางปะกง สำหรับผู้ขอใช้ไฟรายใหม่ ทุกราย ทุกประเภท ต้องมีระบบสายดินตามมาตรฐาน เราจึงสรุปมาให้อ่านแบบง่ายๆ เดินสายด...